วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

เพียงเปิดใจ

รักร้างลาผ่านมาในอดีต
ฉัน
จึงขีดเส้นหนามากั้นขวาง
สร้างกำแพงสูง
ใหญ่ที่ใจกลาง
ด้วยอยากร้างห่างรักสักพักนึง
ระหว่างจากความรัก
ได้พักผ่อน
ไม่ใจอ่อนปันรักหากถาม
ถึง
แม้กามเทพส่งใครมาฉุดดึง
ยังคงตรึงตรวนใจ
ไม่เคลื่อนคลา
จนสวรรค์พานพาฉันมาพบ
ให้ฉันสบดวงเนตรเสน่หา
ทุบกำแพงสูง
ใหญ่เสียดนภา
เส้นกีดขวางทึบหนามลาลาย

รักเหมือนสายลม

ลมหนาวโบย โชยมา พาใจชื่น
เย็นระรื่น ชื่นอุรา พาสุขสานต์
ดูสนแนว เป็นแถวทิว พลิ้วลมผ่าน
ไกวกิ่งก้าน สะท้านลม พรมพริ้วใบ

เหมือนแรกรัก มักหวาน ดูฉ่ำชื่น
ทุกค่ำคืน เริงรื่น ชื่นสดใส
แล้วกลับจาง อ้างว้าง เหินห่างไป
ต้องตรอมใจ ไหวหวั่น กระซ่านเซ็น

เมื่อยามตรึก นึกถึง จึงแสนเศร้า
มีใครเล่า จะเข้าใจ ใครจะเห็น
รักของเรา เปลี่ยนไป เป็นไฟเย็น
เหมือนหัวใจ ไหวเอน เบนตามลม

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

เติมใจให้รัก

อยากจะเติม เสริมรัก สักนิดหนึ่ง
ไว้ยามซึ้ง ตรึงจิต สถิตย์ฝัน
มิยอมให้ ใจแล้ง แห้งเหี่ยวพลัน
เพื่อความรัก จักคงมั่น นิรันดร

หากใจแล้ง แห้งทรวง ลวงรักสิ้น
เหมือนดอกไม้ ไร้สิ้น กลิ่นกำจร
ความรื่นรมย์ ล่มสลาย ให้กังวล
ความระทม ตรมเศร้า จะเข้าครอง

อยากแต่งเติม เสริมหลัก ให้รักหน่อย
แล้วค่อย ๆ ลบรอยเก่า ที่เศร้าหมอง
ให้ดวงใจ หายช้ำ น้ำตานอง
สมสุขปอง สมรัก สลักใจ

แม้นเติมรัก เติมใจ ได้ดังคิด
จะไม่เติม เต็มจิต คิดหลงใหล
ยามร้างลา พาบรรเทา ไม่เศร้าใจ
ค่อยๆ เป็น ค่อนๆ ไป ใจภิรมย์

เติมรักจากใจ

การจะเติมเสริมรัก...ยากสักนิด
ต้องใกล้ชิด..ชมคำ..ที่ฉ่ำหวาน
มีของฝาก..จากใจ...ให้นงคราญ
เช้าเย็นถึงเรือนชานบ้านของเธอ

หากให้ใจ..ต้องดูใจ...เธอให้แจ้ง
เหมือนแมลง...เลือกมาลีที่เสนอ
พบน้ำหวาน..ซ่านซึ้งถึงปรนเปรอ
หากไปเจอ..น้ำผึ้งขม..จะตรมทรวง

ที่กล่าวมา....ใช่ว่าจะทำได้
แล้วแต่ใจใฝ่ปอง..ซึ่งของหวง
พอถูกใจ..เหตุผลใด..ไม่ทั้งปวง
แม้เธอลวง...ก็ยังรัก...ฝากหัวใจ



วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

จีนเผยภาพกองเรือบรรทุกเครื่องบินกองแรกของประเทศเป็นครั้งแรก

เรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิงของจีนเสร็จสิ้นปฏิบัติการฝึกซ้อมในน่านน้ำ ทะเลจีนใต้เป็นเวลา 37 วัน และแล่นกลับฐานในเมืองชิงเต่าวันนี้ (1/1/2014) พร้อมด้วยกองเรือคุ้มกัน นอกจากนี้จีนยังได้เผยภาพชุดกองเรือบรรทุกเครื่องบินกองแรกของประเทศเป็น ครั้งแรกด้วย ซึ่งประกอบด้วย เรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง เรือพิฆาตติดขีปนาวุธระบบอำนวยการรบ "จงหัวเสิน" ไทป์ 051C "เสิ่นหยาง" และ "สือเจียจวง" , เรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศไทป์ 052C อย่างน้อย 1 ลำ, เรือฟรีเกตไทป์ 054A 4 ลำ "เหวยฝาง" , "เยียนไถ" เป็นต้น , เรือดำน้ำไทป์ 039A ชั้นซ่ง, เรืออู่สำหรับยกพลขึ้นบกไทป์ 071 อีก 1 ลำ และฝูงบินขับไล่ JH-7 Flying Leopard


เครื่องปรับอากาศส่วนตั๊ว ส่วนตัว

เคยบ้างไหมเวลาที่เข้าไปในห้างสรรพสินค้าแล้วรู้สึกว่าแอร์ไม่เย็น เคยบ้างไหมที่เวลาไปดูภาพยนตร์แล้วรู้สึกว่าแอร์เย็นจนหนาว ต้องหาเสื้อกันหนาวมาใส่ ทำไมอุณหภูมิอากาศมันช่างไม่พอดีเอาเสียเลย โดยเฉพาะช่วงที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันแบบนี้ จะดีแค่ไหนถ้าเราแต่ละคนสามารถเลือกปรับอุณหภูมิให้พอดีกับตัวเองได้

   เราทุกคนพูดถึงเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงานแต่ขณะ เดียวกันกลับยังปรารถนาความสะดวกสบายต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมากกลับเป็นสิ่งที่ถูกใช้ อย่างแพร่หลาย ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ในกรุงเทพใช้พลังงานไปกับเครื่องปรับอากาศต่อวันอาจมากกว่าไฟฟ้าที่จ่ายให้ จังหวัดที่ห่างไกลความเจริญเสียอีก

         การใช้เครื่องปรับอากาศในอาคารขนาดใหญ่เช่น ศูนย์การค้าหรือศูนย์ประชุมต่างๆ มักปรับอุณหภูมิไว้ให้เย็นเกินพอ เผื่อการสูญเสียความเย็นที่เกิดจากคนเดินเข้าออก จนกลายเป็นเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ในช่วงอากาศอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันแบบนี้ ยังยากที่จะตั้งอุณหภูมิให้ "เหมาะสม" กับทุกคน

         ทีมนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมชชาสูเซจ (MIT) ได้เสนออุปกรณ์ต้นแบบที่จะแก้ไขปัญหาของเครื่องปรับอากาศข้างต้นให้หมดไป โดยเริ่มจากโจทย์ที่ว่า "ทำไมเราไม่ปรับอุณหภูมิร่างกายของเราแทน?"

         อุปกรณ์นี้มีชื่อเรียกว่า "ริสติฟาย" (Wristify) เป็นอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคที่อยู่ในรูปของรีสแบนด์สวมข้อมือ ทำนหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกายของผู้สวมใส่ โดยปล่อยความร้อนหรือความเย็นกระตุ้นผิวหนังเป็นเป็นจังหวะ ขึ้นอยู่กับการตั้งอุณหภูมิที่ต้องการ

         Sam Shames หนึ่งในทีมนักศึกษาผู้ประดิษฐ์ Wristify อธิบายว่าเขาได้รับแรงผลักดันจากแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้ทุกคนในห้องรู้สึก สบายโดยที่ไม่ต้องมาตกลงกันว่าจะตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศเท่าไหร่ดี

         ในขณะที่ Shames รู้สึกร้อน แม่ของเขารู้สึกหนาว จะมีวิธีใดบ้างที่จะนั่งอยู่ในห้องเดียวกันอย่างสันติและไม่ต้องมีใครเสีย สละ เขาจึงเริ่มค้นคว้า ศึกษาถึงกลไกของร่างกายเพื่อทำความเข้าใจว่าร่างของเราตอบสนองกับอุณหภูมิ ต่างๆ อย่างไร และได้พบกับงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่กลายมาเป็นหลักการทำทำงานของ Wristify นั่นคือ ข้อมูลที่ว่า การกระตุ้นผิวหนังเฉพาะที่ด้วยความร้อนหรือความเย็นส่งผลกระทบต่อการรับรู้ อุณหภูมิทั่วทั้งร่างกาย

         ร่างกายของมนุษย์นั้นไม่เหมือนกับเทอร์โมมิเตอร์ที่วัดอุณหภูมิได้อย่าง เที่ยงตรงเสมอ หากเราแตะของเย็นๆ ค้างไว้ระยะหนึ่ง ร่างกายจะค่อยๆ ปรับเปลี่ยนจนคุ้นเคยและแทบไม่รู้สึกว่ามันเย็นอีกต่อไป ลองนึกถึงตอนที่กระโดดลงในสระน้ำตอนหน้าหนาว วินาทีแรกที่ลงไปจะรู้สึกหนาวยะเยือกแต่เมื่อผ่านไปสักพักเมื่อร่างกายเริ่ม ชินก็จะไม่หนาวอีกต่อไป