วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

เครื่องปรับอากาศส่วนตั๊ว ส่วนตัว

เคยบ้างไหมเวลาที่เข้าไปในห้างสรรพสินค้าแล้วรู้สึกว่าแอร์ไม่เย็น เคยบ้างไหมที่เวลาไปดูภาพยนตร์แล้วรู้สึกว่าแอร์เย็นจนหนาว ต้องหาเสื้อกันหนาวมาใส่ ทำไมอุณหภูมิอากาศมันช่างไม่พอดีเอาเสียเลย โดยเฉพาะช่วงที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันแบบนี้ จะดีแค่ไหนถ้าเราแต่ละคนสามารถเลือกปรับอุณหภูมิให้พอดีกับตัวเองได้

   เราทุกคนพูดถึงเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงานแต่ขณะ เดียวกันกลับยังปรารถนาความสะดวกสบายต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมากกลับเป็นสิ่งที่ถูกใช้ อย่างแพร่หลาย ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ในกรุงเทพใช้พลังงานไปกับเครื่องปรับอากาศต่อวันอาจมากกว่าไฟฟ้าที่จ่ายให้ จังหวัดที่ห่างไกลความเจริญเสียอีก

         การใช้เครื่องปรับอากาศในอาคารขนาดใหญ่เช่น ศูนย์การค้าหรือศูนย์ประชุมต่างๆ มักปรับอุณหภูมิไว้ให้เย็นเกินพอ เผื่อการสูญเสียความเย็นที่เกิดจากคนเดินเข้าออก จนกลายเป็นเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ในช่วงอากาศอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันแบบนี้ ยังยากที่จะตั้งอุณหภูมิให้ "เหมาะสม" กับทุกคน

         ทีมนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมชชาสูเซจ (MIT) ได้เสนออุปกรณ์ต้นแบบที่จะแก้ไขปัญหาของเครื่องปรับอากาศข้างต้นให้หมดไป โดยเริ่มจากโจทย์ที่ว่า "ทำไมเราไม่ปรับอุณหภูมิร่างกายของเราแทน?"

         อุปกรณ์นี้มีชื่อเรียกว่า "ริสติฟาย" (Wristify) เป็นอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคที่อยู่ในรูปของรีสแบนด์สวมข้อมือ ทำนหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกายของผู้สวมใส่ โดยปล่อยความร้อนหรือความเย็นกระตุ้นผิวหนังเป็นเป็นจังหวะ ขึ้นอยู่กับการตั้งอุณหภูมิที่ต้องการ

         Sam Shames หนึ่งในทีมนักศึกษาผู้ประดิษฐ์ Wristify อธิบายว่าเขาได้รับแรงผลักดันจากแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้ทุกคนในห้องรู้สึก สบายโดยที่ไม่ต้องมาตกลงกันว่าจะตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศเท่าไหร่ดี

         ในขณะที่ Shames รู้สึกร้อน แม่ของเขารู้สึกหนาว จะมีวิธีใดบ้างที่จะนั่งอยู่ในห้องเดียวกันอย่างสันติและไม่ต้องมีใครเสีย สละ เขาจึงเริ่มค้นคว้า ศึกษาถึงกลไกของร่างกายเพื่อทำความเข้าใจว่าร่างของเราตอบสนองกับอุณหภูมิ ต่างๆ อย่างไร และได้พบกับงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่กลายมาเป็นหลักการทำทำงานของ Wristify นั่นคือ ข้อมูลที่ว่า การกระตุ้นผิวหนังเฉพาะที่ด้วยความร้อนหรือความเย็นส่งผลกระทบต่อการรับรู้ อุณหภูมิทั่วทั้งร่างกาย

         ร่างกายของมนุษย์นั้นไม่เหมือนกับเทอร์โมมิเตอร์ที่วัดอุณหภูมิได้อย่าง เที่ยงตรงเสมอ หากเราแตะของเย็นๆ ค้างไว้ระยะหนึ่ง ร่างกายจะค่อยๆ ปรับเปลี่ยนจนคุ้นเคยและแทบไม่รู้สึกว่ามันเย็นอีกต่อไป ลองนึกถึงตอนที่กระโดดลงในสระน้ำตอนหน้าหนาว วินาทีแรกที่ลงไปจะรู้สึกหนาวยะเยือกแต่เมื่อผ่านไปสักพักเมื่อร่างกายเริ่ม ชินก็จะไม่หนาวอีกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น